หน้าหลัก ข้อมูลวิทยาลัย
ข่าวสาร
ผลงานศิลปะ
บทความและงานวิจัย
ติดต่อเรา
บทความ > บทความศิลปะโดย เสวกจิรสุทธิสาร > เฟื้อ หริพิทักษ์ จิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์คนแรกของเมืองไทย ?
เฟื้อ หริพิทักษ์ จิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์คนแรกของเมืองไทย ?

วามยิ่งใหญ่ของอาจารย์เฟื้อนั้น มีอยู่สามประการ เป็นความยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้...อย่างที่สามคือ อาจารย์เฟื้อ เป็นอิมเพรสชั่นนิสต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

ิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นชื่อของสไตล์งานศิลปะแบบหนึ่งที่ก่อตัวขึ้นในยุโรป ตอนช่วงปลายของศตวรรษที่สิบเก้าต่อมาจนถึงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ เป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้สิ่งที่เรียกกันว่าวิชา วิทยาศาสตร์ของคนในยุคนั้น อิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นยุคของงานศิลปะที่สำคัญอย่างมากเพราะอาจจะเรียกได้ว่าเป็นแม่ของงานศิลปะสมัยใหม่ที่ทำๆกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นรูปแบบของงานศิลปะที่เป็นพื้นฐานของการเล่าเรียน และฝึกหัดการทำงานศิลปะมาจนถึงทุกวันนี้

าจารย์เฟื้อ เป็นเพ้นเตอร์ หรืออาจจะเรียกแทนคำนั้นในภาษาไทยว่าจิตรกร คำว่าจิตรกรออกจะหายๆไปในภาษาไทย แต่เป็นคำที่มีความหมายดี ........

านจิตรกรรมของอาจารย์เฟื้อ มีอยู่ไม่มาก เพราะอาจารย์หันมาทุ่มเททำงานเรื่องการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเสีย แต่งานทุกชิ้นของอาจารย์เฟื้อ เป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานในสไตล์ อิมเพรสชั่นนิสม์ ก่อนหน้าอาจารย์เฟื้อ ผมไม่ค่อยแน่ใจว่ามีใครทำงานอิมเพรสชั่นนิสม์หรือเปล่า และถ้าทำ จะมีคุณค่าเป็นมาสเตอร์พีชอย่างงานของอาจารย์เฟื้อหรือเปล่า

านจิตรกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ของอาจารย์เฟื้อนั้นอยู่ในมาตรฐานของโลก มีบุคลิกและสไตล์ในการใช้สี และฝีแปรง ที่เป็นของตัวเอง เป็นออริจินอล เป็นแบบอย่างให้อิทธิพล ภาพอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์กับศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์คนสำคัญของเมืองไทยในยุคต่อมาหลายต่อหลายคน” *

นหนังสือเล่มเดียวกัน วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ได้เขียนคำพูดของอาจารย์เฟื้อ ไว้ว่า “ไปเที่ยววาดตามท้องทุ่ง เขียนรูปไปเรื่อย เอามาให้ท่านดู ท่านก็บอกว่า อะไรผิด อะไรถูกใช้สีไม่ดี บรรยากาศ (Atmosphere) ยังใช้ไม่ได้ บรรยากาศเป็นหัวใจของการเขียนแบบ อิมเพรสชั่นนิสม์ ตอนนั้นผมยังไม่เข้าใจหรอก แต่ท่านให้ผมมากในเรื่องการใช้สี” (และอ้างอิงต่อไปว่า)

. ณ ปากน้ำ ตั้งข้อสังเกตว่า อาจารย์เฟื้อ เริ่มต้นแนวความคิดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์จากขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิตนี่เอง (พิมพ์ครั้งแรกใน สารคดี ฉบับที่ 64-65 มิ.ย.-ก.ค. 2533)


โบสถ์ซานตามาเรีย แห่งทรานเทเวเร 2498 สีน้ำมัน

าจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เขียนถึงอาจารย์เฟื้อไว้ดังนี้ “....ในระยะเวลาที่ฝึกฝนศิลปนั้น แบบงานศิลปของเฟื้อ จัดเข้าอยู่ในลัทธิ “อิมเพรสชั่นอิสม์” คำว่า “อิมเพรสชั่นอิสม์” นี้นั้น ไม่ควรเข้าใจไปว่า เป็นการเอาอย่างสกุลช่างฝ่ายอิมเพรสชั่นอิสม์ของยุโรป “อิมเพรสชั่นอิสม์” หมายถึงการถ่ายทอดความประทับใจของศิลปินที่ได้รับจากธรรมชาติ จากวัตถุ หรือสิ่งใดก็ตาม แล้วบันทึกลงไปอยู่ในเส้น ในสี หรือปริมาตรอันเป็นปึกแผ่น ความประทับใจนี้เป็นส่วนตัวโดยแท้ ฉะนั้นเอง งานที่แสดงออกอย่างประทับใจของศิลปินแต่ละคนจึงไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับผลงานภาพถ่ายเลย งานของศิลปินนั้น สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ส่วนบุคคล ดังนั้นลัทธิ อิมเพรสชั่นอิสม์ จึงหมายถึงการแสดงออกต่อสิ่งที่เราเห็นอย่างจริงใจ และก็เช่นกันต่อสิ่งที่เรารู้สึกโดยปราศจากความคิดทางด้านพุทธิปัญญาเข้ามาแทรกแทรง”**

 
เสวก จิรสุทธิสาร
ย่อความและเรียบเรียง

___________________________

*วาณิช จรุงกิจอนันต์ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ท.ม. ศิลปินแห่งชาติ -26 ม.ค.2537, พิมพ์ครั้งแรกในมติชนสุดสัปดาห์ (ไม่ทราบฉบับและปี)

** ศิลป์ พีระศรี มหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง เฟื้อ หริพิทักษ์ แปลโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ (คัดลอกจากสูจิบัตรนิทรรศการศิลป ดร.เฟื้อ หริพิทักษ์ แสดงจิตรกรรมและวาดเส้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ 2-31 มีนาคม 2524


บทความศิลปะ โดย เสวก จิรสุทธิสาร
  1. บุญชัย เรียนศิลปะ
  2. วินสตัน เชอร์ชิล:ชีวิตในฐานะจิตรกร
  3. พระอัจฉริยภาพทางศิลปะของมกุฎราชกุมารอังกฤษ
  4. อาจารย์เฟื้อเรียนศิลปะ
  5. เฟื้อ หริพิทักษ์ จิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์คนแรกของเมืองไทย ?
  6. ไม่มี“สีดำ”ในงานอิมเพรสชั่นนิสม์ไทย ?
  7. วาดอะไรก็ได้ ใครๆ ก็ชอบ
  8. เทคนิคจิตรกรรม
  9. ก่อนคุณจะเริ่มต้นวาดรูปสีน้ำ
  10. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนสเปน
  11. อคาเดมิก อาร์ต และปิกาสโซ
  12. สีน้ำสำหรับการวาดภาพ
  13. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนเบลเยี่ยม
  14. สัดส่วนความงามของคนในงานศิลปะ

วิทยาลัยช่างศิลป หมายเลขโทรศัพท์ 0 2326 4002 - 4 โทรสาร 0 2326 4013
E-Mail :