bannerinside_cfasp

วิสัยทัศน์ (Vision)
วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านช่างศิลป์ ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับชาติ
พันธกิจ (Mission)
1.จัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาด้านช่างศิลป์ที่มีคุณภาพ
สามารถสร้างงานทางวิชาชีพได้อย่างมีคุณค่า
2.สร้างงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ด้านช่างศิลป์ที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ
3.เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้บริการด้านช่างศิลป์เป็นที่ยอมรับของชุมชน
4.บูรณาการพันธกิจทุกด้านเข้ากับงานศิลปวัฒนธรรม
5.บริหารจัดการเชิงธรรมาภิบาล บุคลากรรู้รักสามัคคี อยู่อย่างมีความสุข
ปรัชญา
สร้างสรรค์ศิลปะ พัฒนาสังคม สร้างคนให้มีธรรม
ปณิธาน
มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาด้านศิลปะเพื่อพัฒนางานช่างศิลป์ให้คงอยู่ต่อไป
วัตถุประสงค์ (Objective)
เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาด้านช่างศิลป์
สร้างงานวิจัย งานสร้างสรรค์ ให้บริการทางวิชาการด้านช่างศิลป์และอนุรักษ์สืบสาน
สร้างสรรค์ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและสังคม
เงื่อนไขความสำเร็จ
บุคลากรทุกคนของวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี มุ่งมั่นร่วมมือกัน สามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการพัฒนาวิทยาลัยให้เป็นที่พึ่งด้านศิลปะของชุมชนและสังคม
ความมุ่งมั่น

 

                                                 นักศึกษา

 ชุมชุน                                                                    บุคลากร

ดูแลเอาใจใส่

ความรู้วิชาชีพ

คุณธรรม
จริยธรรม

พัฒนางานศิลปะ

องค์กรคุณภาพ

ความสามัคคี
ขวัญ+กำลังใจ

สร้างเครือข่าย

รับสนองนโยบาย

พัฒนาบุคลากร

                                           สถาบัน

 

ค่านิยมหลักของวิทยาลัย (Core Values)
SP-Arts
S - Sincerity - ความจริงใจต่อกัน
P - Participative - การมีส่วนร่วม
A - Attitude - มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ต่อเพื่อนร่วมงาน
R - Responsibility - บุคลากรทุกคนมีความรับผิดชอบ
T - Trust - ความไว้วางใจ
S - Systems - ทำงานเป็นระบบ

อัตลักษณ์ของผู้สำเร็จการศึกษา
มีทักษะปฏิบัติด้านช่างศิลป์เป็นที่ยอมรับระดับชาติ
เอกลักษณ์ของวิทยาลัย
เป็นศูนย์กลางบริการด้านศิลปะแก่ชุมชนและสังคม
สีประจำวิทยาลัย
สีเขียว สีเหลือง
ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
ต้นพิกุล
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาด้านช่างศิลป์ ทั้งระดับอาชีวศึกษาและ
อุดมศึกษาให้มีคุณภาพสามารถสร้างงานสร้างอาชีพได้
เป้าประสงค์
1.ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับ
ของชุมชนและสังคม
2.จัดทำมาตรฐานวิชาชีพช่างศิลป์ในระดับอาชีวศึกษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

กลยุทธ์
1.จัดทำการวิเคราะห์ ประเมินผลและพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาโดยจัดทำ มคอ. 3-7 ให้สอดคล้องตามความต้องการและเปลี่ยนแปลงของสังคมและท้องถิ่น
2.จัดทำการวิเคราะห์ประเมินผลและพัฒนาหลักสูตรระดับอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องตามความต้องการและเปลี่ยนแปลงของสังคมและท้องถิ่น
3.การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนนักศึกษาให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ TQF
และเกณฑ์ที่อุดมศึกษากำหนด
4.มีกิจกรรมประสานสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ศิษย์เก่า
5.พัฒนากระบวนการสรรหา การรับสมัครและระบบการคัดเลือกในทุกสาขาวิชาโดยใช้กลยุทธ์เชิงรุก
6.พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยชุมชน
และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะมีส่วนร่วม
7.พัฒนาสื่อ อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งกลุ่มศึกษาทั่วไปและวิชาชีพ
8.พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเข้มแข็งและสะท้อนผลสัมฤทธิ์ของงาน
9.พัฒนาด้านภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักเรียน นักศึกษา
ให้สามารถใช้งานได้จริง
10.สนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถหารายได้ระหว่างเรียนเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ
ในการประกอบอาชีพอิสระในอนาคต
11.จัดทำมาตรฐานวิชาชีพด้านช่างศิลป์ระดับอาชีวศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานวิจัยงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม องค์
ความรู้ด้านช่างศิลป์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนสังคม และเป็นที่ยอมรับ
ในระดับชาติ
เป้าประสงค์
งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรมด้านช่างศิลป์ที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับระดับชาติ
กลยุทธ์
1. พัฒนาและสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรเกี่ยวกับการทำวิจัยงานสร้างสรรค์
นวัตกรรม
2. จัดหาทุนสนับสนุนในการดำเนินการทำวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรมทั้งภายในและ
ภายนอก
3. จัดทำแผนการจัดการองค์ความรู้ด้านงานวิจัย ดำเนินการตามแผนและติดตามประเมินผล
4. ดำเนินการจดสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนำไปเป็นประโยชน์แก่สังคม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้บริการด้านศิลปะที่เป็นประโยชน์
ต่อชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์
มีบริการทางวิชาการด้านศิลปะที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างแท้จริง และสามรถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างงานสร้างอาชีพได้
กลยุทธ์
1.จัดกิจกรรมบริการวิชาการด้านศิลปะตามความต้องการของชุมชนและสังคม
2.มีข้อมูลหรือองค์ความรู้ทางด้านศิลปะที่ได้จากการจัดเก็บการวิเคราะห์ สังเคราะห์
การนำไปใช้ประโยชน์ โดยเก็บเป็นข้อมูลสำหรับแหล่งเรียนรู้
3.สร้างระบบเครือข่ายทางด้านศิลปะให้มีความเชื่อมโยงและสร้างประโยชน์ร่วมกัน
4.จัดทำบริการวิชาการด้านศิลปะที่สร้างรายได้ให้กับวิทยาลัยฯ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 บูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัย งานสร้างสรรค์ งานบริการ
วิชาการเข้ากับศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น
เป้าประสงค์
เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะสามารถให้บริการองค์ความรู้สู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
1.พัฒนาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของ
ชุมชนและสังคม
2.มีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน วิจัย การบริการ
วิชาการ และกิจกรรมนักศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาการบริหาร การจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์
มีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
1.กำหนดให้ทุกหน่วยงานนำระบบ PDCA ไปใช้กับทุกกระบวนการในการปฏิบัติงาน
2.พัฒนาศักยภาพครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
กับวิชาชีพและงานที่รับผิดชอบ
3.สนับสนุนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทำผลงานทางวิชาการ
และสร้างความก้าวหน้าทางสายงานอาชีพของแต่ละบุคคล
4.จัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยเชิงรุกสามารถติดตามกำกับและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
5.การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินเพื่อบริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับการบริหารยุทธศาสตร์
6.พัฒนาศักยภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง
7.พัฒนาระบบการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจ การเรียนรู้สิ่งใหม่ให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกรวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร
ทำงานร่วมกัน
8.มีการดำเนินการด้านการบริหารความเสี่ยงและการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม
9.พัฒนาด้านทรัพยากร อาคารสถานที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน
และการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม

 

 

เว็บลิงค์