คณะ - สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เว็บไซต์สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย - สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เว็บไซต์สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย http://bpi.ac.th Tue, 12 Dec 2023 02:18:30 +0700 Joomla! - Open Source Content Management en-gb คณะศิลปวิจิตร http://bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department5/item/791-de5-3 http://bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department5/item/791-de5-3


เข้าสู่เว็บไซต์ คณะศิลปวิจิตร

คณะศิลปวิจิตร
คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2541 และประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) ตั้งแต่ 4 มิถุนายน 2542 แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากวิทยาลัยช่างศิลป และต่อมาปี 2547 ได้เปิดหลักสูตร ศิลปะบัณฑิต 4 ปี โดยเปิดรับนักศึกษาทั่วไปจากที่ต่างๆ ด้วยวิธีสอบตรง
ในพ.ศ. 2550 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้แยกส่วนราชการออกจากกรมศิลปกร โดยพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2550 ทำให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีสถานะเป็นนิติบุคคลเทียบเท่ากรม ซึ่งคณะศิลปวิจิตรก็ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติการแบ่งส่วนราชการของสถาบัน

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) คณะ Fri, 08 Apr 2011 07:00:00 +0700
คณะศิลปศึกษา http://bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department5/item/790-de5-2 http://bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department5/item/790-de5-2

เข้าสู่เว็บไซต์ คณะศิลปศึกษา

ประวัติคณะศิลปศึกษา
       คณะศิลปศึกษาเป็นคณะวิชาหนึ่งในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตหลักสูตรครูในสาขาวิชาชีพเฉพาะด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ทั้งไทยและสากล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เปิดการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ในปี พ.ศ. 2547 คณะศิลปศึกษาได้พัฒนาหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (5ปี) เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและนโยบายการ ผลิตครูของรัฐบาล ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยภาควิชาในสังกัด 4 ภาควิชา คือ ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา ภาควิชาดุริยางคศิลป์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา และภาควิชาศึกษาทั่วไป

ปรัชญาการศึกษา
    คณะศิลปศึกษา มุ่งมั่นพัฒนาครูศิลปะ สู่การอนุรักษ์ และสร้างสรรค์ศาสตร์แห่งศิลป์

วิสัยทัศน์
    คณะศิลปศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการผลิตครูด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ ที่ได้มาตรฐานในระดับชาติ

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาเพื่อผลิตครู ด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ ที่มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์
2. ส่งเสริมการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์
3. บริการทางวิชาการศิลปวัฒนธรรมแก่สังคม
4. ทำนุบำรุง สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม ด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์
5. จัดระบบการบริหารจัดการของคณะศิลปศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

หลักสูตรการศึกษา
     คณะศิลปศึกษาจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต 5 ปี รับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 จากวิทยาลัยนาฏศิลป และนักศึกษาทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี 5 ปี ตั้งแต่ปีการศีกษา 2547 เป็นต้นมา และในปีการศึกษา 2551 คณะได้ดำเนินการประเมินและพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตร์ ให้มีเนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์ตามองค์ประกอบในมาตรฐานหลักสูตรของครุสภาและ ในปี พ.ศ. 2552 ได้นำหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุงนี้มาใช้จัดการเรียนการสอน ใน 4 สาขาวิชา
1. สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา
2. สาขาวิชานาฏศิลป์สากลศึกษา
3. สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา
3.1 สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษาแขนงวิชาดนตรีไทย
3.2 สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษาแขนงวิชาคีตศิลป์ไทย
4. สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา
4.1 สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษาแขนงวิชาดนตรีสากล
4.2 สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษาแขนงวิชาคีตศิลป์สากล
      นอกจากนี้คณะศิลปศึกษาได้เปิดห้องเรียนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต 5 ปี ในวิทยาลัยนาฏศิลปส่วนภูมิภาค จำนวน 11 แห่ง

ข้อมูลการติดต่อ
อาคารคณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์  เลขที่ 119/11 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
เบอร์โทรศัพท์ 0 2408 2997 ต่อ 120  เบอร์โทรสาร 0 2408 2998
เว็บไซต์ http://fed.bpi.ac.th อีเมล: bundit@fed.bpi.ac.th

 

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) คณะ Fri, 08 Apr 2011 07:00:00 +0700
คณะศิลปนาฏดุริยางค์ http://bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department5/item/789-de5-1 http://bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department5/item/789-de5-1
คณะศิลปนาฏดุริยางค์

FACULTY OF MUSIC AND DRAMA

    

เข้าสู่เว็บไซต์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์

คณะศิลปนาฏดุริยางค์

      เป็นคณะวิชาหนึ่งในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่ผลิตศิลปิน นักวิชาการ นักบริหารจัดการด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์ เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นสูงจากวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) เป็นเวลา 2 ปี เปิดการเรียนการสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สาขาวิชาดนตรีไทย และสาขาคีตศิลป์ไทย
ในปีการศึกษา 2547 ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (4 ปี) โดยเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเฉพาะสาขานาฏศิลป์ไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 และเริ่มเปิดสอนสาขาวิชาดนตรีไทยและสาขาวิชาคีตศิลป์ไทยในปีการศึกษา 2548
ต่อมาในปีการศึกษา 2550 คณะศิลปนาฏดุริยางค์ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน แขนงวิชาศิลปะดนตรีพื้นบ้านอีสาน และแขนงวิชาศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนเครือข่าย ณ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์
ปัจจุบัน คณะศิลปนาฏดุริยางค์ มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (4 ปี) ประกอบด้วยภาควิชาในสังกัด 2 ภาควิชา คือ ภาควิชานาฏศิลป์ ภาควิชาดุริยางคศิลป์

วิสัยทัศน์
      คณะศิลปนากดุริยางค์ เป็นคณะวิชาที่มีลักษณะเฉพาะ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและด้านนาฏดุริยางค์ เป็นผู้นำในการผลิตศิลปิน นักวิชาการ นักบริหารจัดการงานศิลปะที่พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนอนุรักษ์ สร้างสรรค์ สืบทอด และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เป็นที่ประจักษ์สู่สากล

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาเพื่อผลิตศิลปิน นักวิชาการ นักบริหารจัดการงานด้านนากศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ ที่มีความรู้ ความชำนาญ ความสามารถ พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม
2. บริการทางวิชาการด้านนาฏดุริยางคศิลป์ที่มีแบบแผนสู่สังคม
3. ส่งเสริมการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนด้านนาฏศิลป์ ดุยางคศิลป์ และคีตศิลป์
4. ทำนุบำรุง สืบสานสร้างสรรค์และเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ ให้เป็นที่ประจักษ์สู่สากล
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการของคณะศิลปนาฏดุริยางค์ให้มีประสิทธิภาพ

การจัดการศึกษา
คณะศิลปนาฏดุริยางค์ เปิดการเรียนการสอน ๓ ภาควิชา ๔ สาขาวิชา ดังนี้
1. ภาควิชานาฏศิลป์
1.1 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
2. ภาควิชาดุริยางคศิลป์
2.1 สาขาวิชาดนตรีไทย
2.2 สาขาวิชาคีตศิลป์ไทย
3. ภาควิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน
3.1สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน
3.1.1แขนงวิชาศิลปะดนตรีพื้นบ้านอีสาน (ห้องเรียนเครือข่ายวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดและวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์)

ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2552 คณะศิลปนาฏดุริยางค์ได้ดำเนินการกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมในวิชาชีพด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ ตลอดจนอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ดังนี้
1. โครงการต้นกล้าอาชีพ
2. โครงการอบรมเครือข่ายด้านนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์
3. โครงการถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
4. การจัดทำองค์ความรู้ละครศรีธรรมาโศกราช
5. ค่ายศิลปิน : นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์
6. โครงการเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ด้านนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์
7. โครงการศิลปนาฏดุริยางค์สัญจร

ข้อมูลติดต่อคณะ
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 2 ถนนราชินี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02 - 224 - 44704 ต่อ 606, 02 - 225 - 2103
โทรสาร : 02 - 225 - 2103
เว็บไซต์ : http://fda.bpi.ac.th

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) คณะ Fri, 08 Apr 2011 07:00:00 +0700