bannerinside_cdanr

ประวัติและความเป็นมา

ความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน

           กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2535 ในสมัย นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลักตามประกาศจัดตั้ง เพื่อต้องการขยายการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทางนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ในกรมศิลปากร ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยจัดการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง กรมศิลปากร ได้แต่งตั้งให้ นางเพ็ญทิพย์ จันทุดม รองผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ มาปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 นอกจากหน้าที่ในการจัดการศึกษาแล้ว ยังมีหน้าที่ในการเผยแพร่ ส่งเสริม วิจัย และให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอีกด้วย ในระหว่างการก่อสร้าง วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ได้รับความอนุเคราะห์จาก  ร.ต.สุวิทย์ แก้วเกตุ ศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา ได้อนุญาตให้ใช้ส านักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นสำนักงานชั่วคราว และในเดือนเมษายน 2535 นายประเสริฐ กาญจนวัฒนา กำนันตำบลโคกกรวด ได้ให้ความอนุเคราะห์ ปรับพื้นที่ดินบริเวณด้านหน้าวิทยาลัยฯ หลังจากนี้จะมีการดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนและอื่นๆ ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 ในระดับนาฏศิลปชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตรินาฏศิลป์ชั้นสูง ต่อมาในปีพุทธศักราช 2544 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาหลักสูตร เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ส่วนการศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลปทุกแห่ง เป็นการจัดการศึกษาส าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ หรือความสามารถพิเศษ ด้านดนตรี และนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จึงปรับ
หลักสูตรให้สอดคล้องกัน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ วิชาชีพพื้นฐาน ในระดับช่วงชั้นที่ 3 และ 4 (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)
ปัจจุบัน วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เป็นสถานศึกษาในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่เลขที่ 444 หมู่ 10 ถนนมิตรภาพ ตำบลโคกกรวด อ าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ดิน 63 ไร่ 3 งาน 66 ตารางวา ปัจจุบันนายพงศกร ทิพยสุขศรี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

 

ตราประจำวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

           “สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์” เป็นนามพระราชทานที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานแก่สถาบัน ซึ่งหมายถึง สถาบันผลิตบัณฑิตทางศิลปะแห่งความเจริญ เป็นการยกระดับการศึกษาด้านดุริยางคศิลป์ และช่างศิลป์เพื่อนำศิลปะมาพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศไทย เครื่องหมายของสถาบันฯ เป็นรูปพระพิฆเณศวร์ประทับนั่งในลักษณะเฉียงเล็กน้อยในกรอบวงกลม ด้านบนมีลวดลายไทยยกสูง ด้านล่างกรอบเป็นแถบริบบิ้น ภายในมีชื่อ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ความหมายของตราประจำสถาบัน พระคเณศเป็นเทพเจ้าของอินเดีย นับถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะวิทยาการทั้งปวง ซึ่งหมายรวมถึงความเป็นเจ้าแห่งสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ความกล้าหาญ ตลอด จนเป็นผู้พิทักษ์ไว้ซึ่งความยุติธรรม นอกจากนี้ชาวฮินดูยังคงให้ความ สำคัญกับพระคเณศในฐานะเป็นเทพประจำความขัดข้องและเป็นผู้อำนวยความสำเร็จให้ แก่กิจการต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นพระคเณศจึงได้นามเฉพาะว่า “ วิฆเนศวร” หมาย ถึงผู้เป็นใหญ่ใน ความขัดข้องหรืออุปสรรค และ “ สิทธิดา” หมายถึงผู้อ านวยความสำเร็จผล ด้วยเหตุที่พระคเณศมีคุณสมบัติและความสำคัญดังกล่าว ชาวฮินดูจึงคติเชื่อกันว่าเมื่อจะประกอบพิธีกรรมในลัทธิศาสนา หรือศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการต้องกล่าวคำไหว้บูชาต่อพระคเณศก่อน เพื่อให้ปลอดภัยรอดพ้นจากความขัดข้องหรืออุปสรรคทั้งปวง ตลอดจนอำนวยพรให้เกิดความสำเร็จลุล่วงด้วยดีในกิจการต่างๆ ลักษณะ ของพระคเณศ มีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง มีงาเดียว (บางรูปงาหักข้างขวาหรือซ้ายก็มี) เตี้ย พุงพลุ้ย หูยาน สีกายแดง (บางต าราว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง ตามปกติมี ๔ กร) (บางต าราว่ามี ๖ หรือ ๘) ถืองาช้าง บ่วงบาศ งาหัก และขนมโมทก (ขนมต้ม) บางต าราว่าถืออาวุธ และวัตถุแตกต่างกัน เช่น ถือชาม
ขนมโมทก หม้อน้ า ดอกบัว ผลส้ม สังข์ จักร หลาว ธนู คฑา ขวาน ลูกประคำ งู ผลทับทิม หัวผักกาด เหล็ก
จาร และสมุดหนังสือ เป็นต้นความหมาย เครื่องหมาย และสีประจำ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

 

อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

อัตลักษณ์สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
          “ สืบสาน สร้างสรรค์ งานศิลป์”

อัตลักษณ์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับพื้นฐานวิชาชีพ วิทยาลัยนาฏศิลป์
          “มืออาชีพงานศิลป์”

เอกลักษณ์สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
          “เป็นผู้นำด้านงานศิลป์”

สีประจำวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

 
 

Weblink